วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เทคนิคการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ Digital

 

บางครั้งผู้นำมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอด แต่เมื่อจะทำให้เกิดขึ้นจริง กลับไม่สามารถทำได้ วันนี้จะขอขออ้างอิงแนวทางจาก 7S Mckinsey Framework เพื่อช่วยให้ผู้นำปรับเปลี่ยนองค์กรได้อย่างราบรื่นขึ้น ดังนี้

1.       Strategy

2.       Structure

3.       Systems

4.       Staff

5.       Style

6.       Skills

7.       Shared Values

ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะปรับองค์กรเข้าสู่ Digital การเริ่มต้น ไม่ควรเริ่มจากการไปเลือกและซื้อเทคโนโลยีเข้ามาใช้เลย แต่ควรเริ่มทบทวน ทั้ง 7 ด้านให้ดีก่อน

จาก Hard Side 3 ด้าน คือ

Strategy พิจารณาว่า จะใช้เทคโนโลยีสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างไร จะทำให้ธุรกิจแข่งขันได้และเติบโตในด้านไหน อาจเป็นการออกแบบรูปแบบธุรกิจ สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า หรือลดต้นทุน แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบว่าจะให้ความสำคัญในด้านใด ด้านใดที่จะไม่ไปเกี่ยวข้อง

Structure จัดโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น โครงสร้างทีมขนาดเล็กข้ามสายงาน โครงสร้างหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน IT เป็นต้น

System  ทบทวนและออกแบบระบบงาน ให้สอดคล้องกับทิศทาง กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ทั้งระบบงานหลักและระบบงานสนับสนุน รวมทั้งระบบงานบริหารด้วย

จากนั้น ก็ทบทวนปรับเปลี่ยน Soft Side อีก 4 ด้าน คือ

Shared Values  กำหนดและขับเคลื่อนค่านิยมที่จำเป็นต่อการมุ่งสู่ Digital เช่น การทำงานที่เน้น Project Base ที่ประกอบด้วยทีมงานจากหลากหลาย Function ไม่ใช่การทำงานเป็น Silo ตาม Function แบบเดิม, การทำงานที่กล้าที่จะลองผิดลองถูกโดยยึดถือความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง เป็นต้น


เคล็บลับที่ไม่ลับในการทำธุรกิจ

 

เคล็ดลับวันนี้ แค่ตอบคำถาม 3 ข้อ คือ

1.Why คุณทำธุรกิจทุกวันนี้ เพื่อสิ่งใด  ซึ่งก็มักจะตอบว่า เพื่อให้องค์กรอยู่รอด ปรับตัวทันและเติบโตได้ยั่งยืน

2.What แล้วจะต้องทำอะไรล่ะ เพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการในข้อ 1  คำตอบก็คือการลดต้นทุน เพิ่มคุณค่า ค้นหาโอกาสใหม่ๆ

3.How จะลดต้นทุน เพิ่มคุณค่าได้อย่างไร  คำตอบคือ รู้จักความสูญเปล่า เข้าใจคุณค่าในมุมมองของลูกค้า แล้วกำจัดความสูญเปล่าออกไป คงให้เหลือไว้แต่คุณค่าในมุมมองของลูกค้าจริงๆ

         ส่วนการเพิ่มคุณค่าและค้นหาโอกาสใหม่ๆ อาจมีคำตอบเพิ่มเติมว่า 

  • ต้องติดตาม Trend ของลูกค้าและตลาดให้ทัน 
  • วิเคราะห์ให้ออกว่าส่วนใดจะเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา 
  • เจาะจงเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Segment) ให้ชัด 
  • ลงลึกข้อมูลเชิงลึก( insight )ของลูกค้าในกลุ่มที่เลือกเพื่อให้เข้าใจคุณค่าในมุมมองของลูกค้าได้แม่นยำ 
  • สกัดความชำนาญขององค์กรที่จะส่งมอบคุณค่าได้ตรง โดนใจลูกค้าที่เลือกไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ผ่านสินค้าหรือบริการขององค์กร

                อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ ต้องนำคำตอบที่ได้เหล่านั้นมาทำแผนงานที่เฉพาะเจาะจงอย่างเฉียบคม มีการนำแผนไปปฏิบัติและติดตามเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รวมถึงมีกระบวนการในการเรียนรู้และปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

                ฟังดูเหมือนง่าย แต่จริงๆแล้วไม่ง่าย เพราะถ้าง่ายทุกองค์กรก็ประสบความสำเร็จไปหมดแล้ว แต่อย่างน้อยคุณก็รู้ How to ซึ่งเปรียบเหมือนแผนที่นำทางแล้ว ขอแค่เริ่มเดินตามแผนที่ก็ถือว่าอยู่บนเส้นทางแห่งความสำเร็จแล้วละครับ ถ้าต้องการเพื่อนร่วมทางที่เคยมีประสบการณ์มาบ้าง ก็ inbox มาคุยกับเรา LDMS เราคัดสรรเคล็ดลับที่ปฏิบัติได้จริง เพื่อนักธุรกิจ คนทำงาน เพื่อการลดต้นทุน เพิ่มคุณค่าและค้นหาโอกาสใหม่ๆด้วยกันนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Fail to Win

 

ความล้มเหลวที่น่าจดจำนั้น อาจดีกว่า ความสำเร็จแบบธรรมดาๆเสียอีก



หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า คนที่ไม่เคยทำผิดพลาด อาจหมายถึงคนที่ไม่เคยลงมือทำอะไรซักอย่าง ในทางกลับกัน คนที่ประสบความสำเร็จระดับตำนาน อย่างเช่น วอลท์ ดิสนีย์ หรือแจ๊คหม่า มักจะเล่าเรื่องความล้มเหลวผิดพลาดให้เราฟังด้วยความภาคภูมิใจ ราวกับว่ามันเป็นขั้นตอนหรือองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้ 

บางทีความล้มเหลวที่น่าจดจำนั้น อาจดีกว่า ความสำเร็จแบบธรรมดาๆเสียอีก ความสำเร็จกับความล้มเหลว เป็นสิ่งคู่กัน เหมือนกับเหรียญ 2 ด้าน ถ้าอยากสำเร็จ ก็ต้องไม่รังเกียจที่จะเจอความล้มเหลวให้มากพอ ยิ่งถ้าต้องการความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องตั้งเป้าหมายให้ท้าทาย ตั้งเป้าหมายให้ยากเกินกว่าจะเอื้อมถึง(แต่มีความเป็นไปได้) โดยไม่ต้องกังวลว่าจะล้มเหลวหรือไม่ ขอเพียงทำให้มั่นใจว่า เรามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่พอที่จะทำให้เราได้พยายามอย่างสุดกำลังแล้ว

ความล้มเหลว อาจไม่ใช่เรื่องสนุก แต่ถ้ามองดูดีดี ก็อาจเป็น โอกาสอันงดงามที่จำแลงแปลงกายมาก็ได้ เพราะมันจะทำให้เราต้องทบทวนและปรับปรุงตัวเอง มันอาจจะผลักดันให้เราก้าวไปข้างหน้าได้เร็วกว่าตอนสำเร็จไปเรื่อยๆเสียอีก

สิ่งที่จะช่วยให้กล้าล้มเหลว คือแนวคิดแบบเด็กที่ สนใจใฝ่รู้ เด็กมักจะถามด้วยความไม่รู้ แต่พอโตขึ้น เรามักจะคิดว่า เรารู้แล้ว แล้วก็ไม่ถาม ไม่เรียนรู้ต่อ  ดังนั้น ควรท่องไว้เสมอว่า Stay Young and Stay Fool !

สำหรับองค์กร ถ้าต้องการส่งเสริมให้คนในองค์กร กล้าที่จะล้มเหลว เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าในอนาคต  อาจสร้างบรรยากาศ โดยไม่ตำหนิต่อว่ากับ “ความล้มเหลวที่มาจากเป้าหมายที่ใหญ่และความพยายามอย่างชาญฉลาดแล้ว” ของพนักงาน ในทางตรงข้าม อาจยกย่องและให้เป็นแบบอย่างต่อผู้อื่นในองค์กรด้วย และเปลี่ยนเป็นการตำหนิต่อการ “ไม่ทำอะไรเลย” หรือ “ตั้งเป้าหมายแบบง่ายๆ(ที่สำเร็จตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไร)” แทน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

127 Hours

 127 Hours

ได้มีโอกาสดูภาพยนตร์ เรื่อง 127 Hours โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะแค่ชื่อเรื่องก็ไม่ค่อยน่าสนใจ ไม่รู้สื่อถึงอะไร ถ้าจะเล่าเนื้อเรื่องก็ธรรมดามาก คือ เป็นเรื่องของชายหนุ่มที่ชื่อ Arron ไปเที่ยวภูเขาโดยลำพัง แล้วตกไปในซอกเขา เจอก้อนหินทับข้อมือติดอยู่ในนั้น 127 ชั่วโมง กว่าจะออกมาได้ ก็ประมาณนั้น






แต่ถ้าดูให้ดี หนังเรื่องนี้ก็ให้แง่มุมที่เป็นประโยชน์อยู่หลายประเด็นที่อยากมาเล่าต่อ 

อย่างแรกก็คือ ความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะตะโกนร้องไปก็ไม่มีใครได้ยิน คุณ Arron จึงต้องตั้งสติและบอกตัวเองว่า “อย่าบ้าคลั่ง” แต่ต้องพยายามคิดวางแผนให้ตัวเองยังคงมีชีวิตรอดและแก้ปัญหาก้อนหินที่ทับมืออยู่ให้ได้

ใน Moment ที่ได้สติ มีแง่มุมความคิดที่น่าเอาไปใช้ คือเขามองว่า เจ้าก้อนหินก้อนนี้ มันอาจเป็นอุกาบาตจากนอกโลก ตกมาในโลกและรอเวลามาหลายพันปีแล้วเพื่อที่จะมาทับแขนของเขา และเขาก็เกิดมาเพื่อจะเจอกับสิ่งนี้  คิดได้แบบนี้ก็เกิดสติ และยอมรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้ยอมแพ้ คือพยายามหาทางแก้สถานการณ์ต่อไปอย่างมีสติมากขึ้น

อีกประเด็นหนึ่ง คือได้แง่มุม ความรู้สึกของคนใกล้ตาย ว่าจะรู้สึกอย่างไร โดยภาพยนตร์ทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับเขา(ซึ่งกำลังจะตาย) ได้สะท้อนตัวเองว่า จะทำอะไรก็รีบทำ เพราะยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่เรายังไม่ได้ทำ(เดี๋ยวจะตายเสียก่อน) หรือเราจะคิดถึงใครบ้างก่อนตาย




หลังจากพยายามทำทุกวิถีทาง ในที่สุดคุณ Arron ก็ใช้วิธี ตัดมือตัวเองให้ขาดเพื่อรักษาชีวิตไว้ และก็ออกมาจนได้  โดยได้รับการช่วยเหลือจากนักท่องเที่ยวแถวนั้นและหน่วยกู้ภัย

เป็นภาพยนต์อีกเรื่องหนึ่งที่สอนเราเรื่อง มรณานุสติ และ Problem Solving แบบดูเพลินๆแต่เข้าถึงอารมณ์ได้ดีทีเดียว


วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Why Startup fail?

 

Why Startup fail?



จากการสำรวจของ  cbinsights.com สรุปได้ว่า สาเหตุใหญ่ๆ ของ startup ที่ ไม่สามารถไปต่อได้ตามที่ฝันไว้ มี Top3 คือ

        42%   ด้านตลาด คือทำสิ่งที่ตลาดไม่ต้องการ

        29%  ด้านการเงิน เช่น เงินหมุนเวียนไม่ทัน

        23%   ด้านคน ทีมงานไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

ดังนั้น สำหรับ ผู้ที่กำลังวางแผน คิดจะทำธุรกิจ หรือทำธุรกิจอยู่แล้วก็ตาม ก็ควรให้ความสำคัญกับ เรื่องเหล่านี้ โดย

1.ตรวจสอบอยู่เสมอว่า เราได้เลือกตลาดที่มีขนาดใหญ่พอและได้ทำสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ โดยการลองไปเป็นลูกค้าจริงๆ  หมั่นถามและสังเกตพฤติกรรมและประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าบริการของเรา ว่าเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

2.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินก่อนตัดสินใจลงทุน ไม่ลงทุนเกินกว่าเงินทุนที่หามาได้ และเมื่อลงมือทำจริงแล้ว ต้องติดตามข้อมูลกำไร-ขาดทุนทุกวัน ตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่สำคัญเป็นประจำและปรับปรุงให้เหมาะสม ได้แก่ ยอดขาย กำไร/ขาดทุน สภาพคล่อง ลูกหนี้ เจ้าหนี้ สต๊อก

3.ทีมงานต้องมีทักษะความสามารถ มีความมุ่งมั่น และต้องสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยใช้ความสามารถที่แตกต่างของแต่ละคนมาเติมเต็มซึ่งกันและกันแบบประสานพลัง รวมทั้งผู้นำต้องมีทักษะในการดึงศักยภาพของทีมงานและสร้างบรรยากาศเพื่อความสำเร็จได้