วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

แอบใช้จุดเด่นของ 3 อาชีพ มาเสริมสร้างจุดแข็งให้กับชีวิตและธุรกิจของคุณ!

 


เริ่มจากคุณเป็น "ศิลปิน" ที่มีความฝัน เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนโลกนี้ให้ดีขึ้น มีจินตนาการที่รู้สึกสัมผัสได้ว่า ถ้าคุณทำตามเป้าหมายนั้นสำเร็จคุณจะรู้สึกอย่างไร จนคุณแทบจะอดใจรอให้ถึงตอนเช้าเพิ่อเริ่มลงมือทำไม่ไหว

.

จากนั้นก็เปลี่ยนมาสวมบทบาท "นักบิน" ที่มีจุดหมายปลายทางชัดเจน และพร้อมที่จะทำทุกวิถีทางให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจวางแผนไว้ ไม่ว่าจะเจอมรสุมพายุอะไร ก็จะต้องหาทางไปให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้

.

จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้บทบาท "วิศวะ" เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้ลงมือทำไปแล้ว เพื่อดูว่าควรปรับปรุงแก้ไขอะไร เพื่อให้มันดีขึ้นไปอีก รวมทั้งคุณยังไม่หยุดที่จะค้นคว้าทดลอง คิดค้นนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

.เคล็ดลับสำคัญ คืออย่าทำข้ามขั้นตอน คืออย่าเป็น นักบินที่บินขึ้นไปบนท้องฟ้าโดยที่ยังไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน และอย่าเป็นวิศวะที่คิดแก้ไขปรับปรุงทั้งๆที่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

2 สิ่งเปลี่ยนชีวิต แค่คิด แล้วก็ทำ



มีสมการ ที่เข้าใจได้ไม่ยาก คือ E+R=O ประกอบด้วย
.
E คือ Event สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
R คือ Re-Act การตอบสนองของเรา
O คือ Outcome ผลลัพธ์ที่เราได้รับ
.
สำหรับสถานการณ์(Event)นั้น อาจหลีกเลี่ยงเปลี่ยนแปลงไม่ได้
.
แต่ถ้าต้องการผลลัพธ์(Outcome)ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการตอบสนอง(Re-Act) เช่น ในสถานการณ์แบบนี้ ถ้าต้องการเพิ่มยอดขาย อาจจะเปลี่ยนวิธีการตอบสนอง โดย
.
✅เปลี่ยนจากการ สื่อสาร ที่เน้นข้อมูล เป็นการ เล่าเรื่อง ที่เน้นการอารมณ์ ความรู้สึกมากขึ้น
✅เปลี่ยนจาก ส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่เหมือนๆกันทุกราย เป็นรับฟังลูกค้ากลุ่มย่อยลง เพื่อหาความต้องการเชิงลึก(Insight) แล้วทำการตอบสนองในแต่ละกลุ่มย่อยอย่างเหมาะสม
✅เปลี่ยนจาก วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเฉพาะที่ซื้อสินค้าของเราแล้ว เช่น ข้อมูลจากโปรแกรมขาย (POS) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าของเรา แม้จะยังไม่ได้เป็นลูกค้าก็ตาม เช่น จาก Google Analytics , กล้องวงจรปิด เป็นต้น
.
ถ้ามี ไอเดียอะไรดีดี ก็อย่าเก็บมันเอาไว้เฉยๆ นะครับ เปลี่ยน ไอเดีย ให้เป็น “แผนงาน”แล้วลงมือทำกันดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาเสียดายในภายหลัง

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

พายเรือในอ่าง เสียเวลาเปล่าๆ


พายเรือในอ่าง เสียเวลาเปล่าๆ 🚢
.
📌เจ้าของกิจการท่านหนึ่ง ต้องการให้ผมช่วยหาทางเน้นย้ำกับพนักงานว่า อย่าหลงทำงานตามแผนปฏิบัติการที่ถูกถ่ายทอดมาในหน่วยงานของตน จนอาจลืมไปว่า “ทำแผนปฏิบัติการไปเพื่ออะไร?”
ซึ่งจริงๆแล้วพนักงานควรรู้ว่า “การทำแผนปฏิบัติการนั้น ก็เพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์”🚩
.
📌ผมตอบว่า เห็นด้วย โดยขอเพิ่มอีกสักนิด ว่าให้เน้นย้ำพนักงานให้รับรู้ว่า “ทำกลยุทธ์ไปเพื่ออะไร?” ด้วย
เพราะคำตอบจะมีความหมายและมีความสำคัญกว่า นั่นก็คือ “เพื่อให้เป้าหมายสูงสุดขององค์กรประสบความสำเร็จ” 🎯 เพราะถ้าพนักงานไม่รู้ เป้าหมายสูงสุดขององค์กร ก็เหมือนกับ “กำลังพายเรือในอ่าง” คือทำอะไรไปมากมาย โดยที่ไม่รู้ว่า “ทำไปเพื่ออะไร?”
.
📌การจะทำให้เป้าหมายขององค์กรประสบความสำเร็จนั้น อันที่จริงแล้ว ควรเริ่มจากการวางระบบการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการหลายๆเรื่อง ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบระบบงาน, กระบวนการ, รูปแบบธุรกิจ การสร้างความร่วมมือ การออกแบบตัวชี้วัดและติดตามผล สร้างระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน การพัฒนาทักษะ การประเมินผลงานพนักงาน เป็นต้น
ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางข้างต้น จะเป็นหลักประกันพื้นฐานที่อาจช่วยองค์กรประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน เพราะเป็นการ “สร้างระบบ” ซึ่งเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับองค์กรในระยะยาวแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลหรือผู้บริหาร ระบบก็ยังจะคงอยู่ได้
.
📌อย่างไรก็ตาม การวางแผนกลยุทธ์นั้น ก็อาจเป็นการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปจากการวางระบบการบริหารข้างต้น โดยการประเมินสถานการณ์ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเติมเต็มให้ การขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายสูงสุดขององค์กรมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น โดยต้องทำควบคู่ไปกับการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบด้วย เหมือนกับการต่อจิ๊กซอที่ขาดหายไปให้ครบถ้วนทำให้ได้ภาพที่สวยงามสมบูรณ์🍕
.
📌การวางแผนกลยุทธ์ อาจหมายถึงการทำ “สิ่งที่ควรทำ” ให้กลายเป็น “สิ่งที่ได้ทำ(จนสำเร็จ)”
การวางแผนกลยุทธ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นการ ตัดสินใจว่าจะ “ทำ”อะไรเท่านั้น ในบางกรณีอาจเป็นการตัดสินใจว่าจะ “ไม่ทำ”อะไรบางอย่างที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กรก็ได้
.
📌กรณีนี้ ถ้าจะมีกลยุทธ์ “ไม่ทำ”ก็ขอเสนอกลยุทธ์ “หยุดพายเรือในอ่าง” กันเถอะครับ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

Agile & Resilience แบบกิ้งก่าจิ้งจก

 



โลกสับสน ต้องลองค้นหาต้นแบบใหม่เพื่อความอยู่รอด.

องค์กรที่จะสามารถเอาตัวรอดและเติบโตในยุคนิวนอร์มอล อาจจะต้องใช้คุณสมบัติของกิ้งก่าและจิ้งจกเป็นต้นแบบกันแล้ว !!

ถ้าจะเปรียบเปรยสัตว์ที่มีพฤติกรรมเป็นต้นแบบขององค์กรสักชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็อาจจะพูดถึง “ช้างหรือคิงคอง” ที่มีความแข็งแรงใหญ่โต  หรืออาจจะเป็นสัตว์ที่มีสายตายาวไกลมองเห็นอนาคตอย่าง “นกอินทรีย์”  แต่ในยุคนี้ ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมาก องค์กรต้องมีการปรับตัวกันมากมาย  สัตว์ที่คิดว่าน่าจะเป็นต้นแบบในยุคนี้ที่เราอาจจะต้องพิจารณาสนใจ ก็คือ “กิ้งก่าและจิ้งจก” นะครับ

สำหรับ กิ้งก่า เราจะเห็นว่ามันมีชีวิตมานานมากแล้วนะครับ  อาจจะเป็นรุ่นเดียวกับไดโนเสาร์ด้วยซ้ำไป  แต่วันนี้มันก็ยังมีชีวิตอยู่ เพราะมันมีความสามารถที่สำคัญอันนึงก็คือเรื่องของการ “ปรับตัว” เช่น กิ้งก่า ที่เปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมที่มันอยู่เพื่อพรางตัวจากศัตรู

ส่วน จิ้งจก นั้นเราจะเห็นลักษณะสำคัญอีกอันหนึ่งที่สำคัญของมันก็คือ “การฟื้นคืนสภาพ” เมื่อไหร่ที่มันโดนประตูหนีบหางขาดหรืออะไรเนี่ยนะครับมันก็จะสามารถฟื้นคืนสภาพงอกหางใหม่ขึ้นมาได้ในเวลาไม่ช้า อันนี้เป็นลักษณะที่สำคัญสำหรับองค์กรในยุคปัจจุบัน คือจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวได้คล่องเหมือนกับกิ้งก่าเปลี่ยนสีได้แล้วก็สามารถฟื้นคืนสภาพกลับมาได้เหมือนกับจิ้งจกที่งอกหางใหม่ได้นะครับ 

องค์กรที่มีการปรับตัวเร็วแบบกิ้งก่าเปลี่ยนสี อาจหมายถึงการทำงานที่มีระบบการทำงานที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป มีความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นกับพาร์ทเนอร์ ผู้ส่งมอบ ส่งมอบที่มีความยืดหยุ่น มีโครงสร้างการทำงานไม่ซับซ้อนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสื่อสารภายนที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

ยกตัวอย่าง องค์กร 7- Eleven เวลาเกิดปัญหาอะไรหรือผู้บริหารระดับสูงประชุมกันในประจำสัปดาห์นะครับประชุมเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก  สาขาอื่นอีก 10,000 กว่าสาขาทั่วประเทศก็จะได้รับรู้ข่าวสารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากบอร์ดบริหาร แล้วนำไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงทันเหตุการณ์

ส่วนการฟื้นคืนสภาพที่ดีแบบจิ้งจกหางขาดแล้วก็งอก ถ้าเป็นการบริหารองค์กร ก็อาจหมายถึง มีการคาดการณ์อนาคต  แล้วก็มีการเตรียมความพร้อมในการที่จะสำรองแผน  แผนสองแผนสามขึ้นมาอย่างรวดเร็ว หรือแม้ว่าแผนจะเกิดความผิดพลาด ก็จะหาทางกลับมาเริ่มใหม่ให้ได้อยู่ดี  ขอยกตัวอย่างธุรกิจของต่างประเทศนะครับ มีบริษัทหนึ่งเค้าเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเรื่องของจำหน่ายยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาสุขภาพสัตว์ของฟาร์มซึ่งกำลังจะถูกรัฐบาลห้ามขายยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์  แทนที่เค้าจะท้อแท้เพราะว่ากิจการโดนบังคับให้ปิด แต่เขากลับหาทางฟื้นคืนสภาพคือเริ่มต้นใหม่ โดยทบทวนดูว่ามีอะไรที่พอจะเอามาใช้ได้บ้าง  สิ่งสำคัญที่เขามีอยู่ก็คือฐานลูกค้าที่เป็นฟาร์มที่ยังมีสัตว์เลี้ยงอยู่  เขาจึงเข้าสู่ธุรกิจ การดูแลสุขภาพสัตว์โดยใช้สารชีวภาพ(ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ส่วนความรู้เดิมก็หาทางต่อยอดไปสู่งานวิจัยขั้นสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีระดับสูงและนวัตกรรม ไปสู่ทำยาปฏิชีวนะสำหรับวงการแพทย์ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าเดิมเป็น 100 เท่าเลยทีเดียว

ฝากไว้นะครับ  ในวันที่ประสบปัญหาท้องฟ้ามืดครึ้ม ให้นึกถึงว่า สักวันต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ในขณะที่วันที่ท้องฟ้ายังแจ่มใสอยู่ ก็ให้นึกถึงวันที่เลวร้ายที่สุดและเตรียมความพร้อมไว้

วันชัย ตันจารุพันธ์

Email ; wanchai@vpconsult.biz

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564

5 แนวทางการเป็นผู้นำองค์กรที่ดี

 


ผู้นำคือปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นในองค์กร  ต่อไปนี้ คือบทบาทหน้าที่หลักๆของผู้นำที่ดี 

1.มองเห็นภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กรอย่างเชื่อมั่น

2.สื่อสารทิศทาง เป้าหมายองค์กร

3.รับผิดชอบต่อเป้าหมาย ด้วยวินัย ความฉลาดและสร้างความไว้วางใจ

4.สร้างบรรยากาศความสำเร็จและแรงจูงใจ

5.สนับสนุนและขจัดอุปสรรคให้กับทีมงาน

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก คลิป ตาม Link นี้ครับ    ผู้นำที่ดี


วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

3 เคล็ดลับโตไว วิธีผนึกกำลังที่คุณ(อาจ)ยังไม่รู้

 3 เคล็ดลับ #ผนึกกำลังทางธุรกิจ โตไวกว่าบินเดี่ยว🛩

.

การทำธุรกิจทุกวันนี้ มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และต้องการความรวดเร็วในการทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การสร้างความสำเร็จ โดยลำพังอาจจะทำได้ยากขึ้น ดังนั้น การสร้างความร่วมมือโดยการผนึกกำลังกัน จึงเป็นทางออกที่สำคัญ

.

ต่อไปนี้คือ มุมมองเพื่อหาโอกาส สร้างความร่วมมือผนึกกำลังกัน ซึ่งอาจจะเป็นการผนึกกำลังกันระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานย่อยภายในองค์กรก็ได้

.

✅ #สร้างสิ่งใหม่ เป็นการผนึกกำลังที่ทุกหน่วยงานสามารถทำได้ โดยถ้าเห็นโอกาสใหม่ๆเกิดขึ้น แต่คิดว่าเกินกำลังที่จะทำโดยลำพัง ก็นำความสามารถและทรัพยากรของเรา ไปร่วมมือผนึกกำลังกับความสามารถและทรัพยากรที่แตกต่างแต่จำเป็นของหน่วยงานอื่น เมื่อเกิดผลสำเร็จ ก็มาแบ่งผลประโยชน์กัน เช่น Platform Food Delivery ที่เป็นการรวมตัวของหน่วยงานที่มีความชำนาญหลากหลาย ต่างคนก็ทำหน้าที่ของตน เช่น ทำอาหาร ส่งอาหาร เขียนโปรแกรมรับออร์เดอร์ เป็นต้น♨


 

✅ #เสริมสิ่งที่ขาด คือการมาช่วยกันพัฒนา ช่องว่างที่เป็นรอยต่อระหว่างกันให้ราบรื่นขึ้น ตัวอย่างเช่น เป็นหน่วยงานที่มีการทำงานเชื่อมต่อกัน แต่มักเกิดความผิดพลาดหรือล่าช้าในส่วนที่เป็นรอยต่อที่ส่งมอบงานระหว่างหน่วยงานกัน อาจเป็นเพราะเกรงใจกัน หรือเกี่ยงกันก็ตาม ถือเป็นการยกระดับคุณค่าโดยรวมของระบบ ซึ่งต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน


 

✅ #ร่วมกันหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด เช่น หลายสาขามีเป้าหมายและรูปแบบการทำงานที่คล้ายกัน อาจมาร่วมมือกันค้นหา สาขาที่มีผลงานดีที่สุด แล้วถอดบทเรียนกันออกมาดูว่า สาขานั้นเขามีขั้นตอนการปฏิบัติในรายละเอียดเป็นอย่างไร มีทีเด็ดหรือจุดเรียนรู้อยู่ตรงไหนบ้าง? เมื่อได้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว แต่ละสาขาก็นำไปปรับใช้กับสาขาของตน แล้วก็นำผลลัพธ์มาแบ่งปันทีเด็ดกันต่อไป การผนึกกำลังแบบนี้ ก็เป็นการยกระดับผลงานโดยรวมที่ต่อเนื่องเลยทีเดียว✔⭐

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ความลับ! ทำไมคุณขายดี ทำแค่นี้..ง่ายๆ ไม่ควรพลาด

 ความลับ! ทำไมคุณขายดี ทำแค่นี้..ง่ายๆ ไม่ควรพลาด




.
ถ้าคุณหยุดนิ้วมาอ่าน Post นี้ แสดงว่า คุณได้รู้ #ความลับ แล้วครับ
.
ในเมื่อคุณสนใจ #keyword จากคำขึ้นต้นข้างบน คนอื่นก็น่าจะสนใจเหมือนกัน
.
คำขึ้นต้นที่ผมพูดถึงประกอบด้วย คำเหล่านี้ครับ
🔵ความลับ........
🔵ทำไม.....
🔵คุณ
🔵ขายดี
🔵ทำแค่นี้........
🔵ง่าย
🔵ไม่ควรพลาด
ลองเอาไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารธุรกิจของคุณกันดูนะครับ ถ้าเป็นแนว Content ความรู้ ก็จะมีการใช้คำเหล่านี้กันมากครับ
🟠เช็คลิสต์.......
🟠รวม.........
🟠สุดยอดเทคนิค........
🟠เคล็ดลับ........
🟠เจาะลึก......
🟠ขั้นตอน........
ถ้าเป็นแนวขายของก็คงไม่ต้องพูดถึงมาก คุณเจออยู่แล้วทุกวัน! ไม่ว่าจะเป็น
🔴แถมฟรี
🔴ส่งด่วนส่งเร็ว
🔴มีจำกัด
🔴โอกาสสุดท้าย
และที่ใช้ได้กับทุกแนว คือดึงดูดด้วย
🟢ตัวเลข
รวมทั้ง
🟢รูปภาพ Post ที่ตัวหนังสือโตโต แบบ Post อันนี้ด้วยครับ

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

คุณกอดคอถ่ายรูปหมู่ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่่?

 โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว กอดคอกับเพื่อนสนิทยังไม่ได้เลย!🤵👨‍🔧



.
ใครจะไปคิดว่า เราจะมาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร จะกอดคอกับเพื่อนยังเป็นเรื่องต้องห้าม ถ้าจะมีภาพหมู่ก็ต้องเป็นเทคนิคการตัดต่อรูปภาพแทน และนี่คือผลของคำว่า “การเปลี่ยนแปลง”⌛
.
การเปลี่ยนแปลงมีทั้งแบบที่เราพอจะคาดเดาได้และเกินกว่าจะคาดเดาได้ล่วงหน้า ดังนั้นในแง่ของการทำธุรกิจก็คงต้องมีทั้งเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้าสำหรับส่วนที่พอจะคาดการณ์ได้ กับเตรียมรับมือกับสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนให้ดีที่สุด
.
ในทุกการเปลี่ยนแปลง จะมีทั้งอุปสรรคและโอกาสเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับคุณอยู่ตรงจุดไหนและคุณมีมุมมองอย่างไร ณ กลางสี่แยกไฟแดง ถ้าคุณเป็นคนขับรถก็คงอยากให้ถึงไฟเขียวเร็วๆ แต่ถ้าคุณเป็นคนขายพวงมาลัย คุณก็อยากให้ไฟแดงนานขึ้นอีกหน่อย ทั้งๆที่เป็นไฟสัญญาณอันเดียวกันแท้ๆ
.
ผมจะขอแบ่งปันข้อมูลที่ได้รับมาเกี่ยวกับตัวอย่างแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีการคาดการณ์ว่าน่าจะเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้นะครับ
• คนจะกินอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารจะเป็นยาไปด้วย
• คนจะนิยมเช่าบ้านมากกว่าซื้อเป็นเจ้าของ
• คนจะยังนิยม Work From Home ต่อไปอีก
• E-Sport Gaming จะเป็นที่นิยมไม่แพ้กีฬาอื่นๆ
• คนจะนิยมทำอาหารเองที่บ้าน เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ปลูกต้นไม้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ตรงจุดไหนของสี่แยกไฟแดง และมองมุมไหน

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โลกสองใบ ใกล้กันเข้ามาทุกที

 โลกสองใบ ใกล้กันเข้ามาทุกที

🌎🌕


.
ถ้าเป็นเมื่อก่อน จะซื้อของ ขายของ จะแลกเปลี่ยนอะไร ก็ถือของไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกันแบบชัดๆ เห็นกันจะจะ อาจจะเรียกว่า “โลกแห่งความเป็นจริง” แต่ทุกวันนี้ มีโลกอีกใบหนึ่ง ที่หมุนคู่ขนานกันไป อาจจะเรียกว่า “โลกเสมือน” คือการรับและส่งข้อมูลกันด้วย 💬🗨
.
โลกเสมือน เริ่มมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ แทบจะเรียกได้ว่า การซื้อขายและเปลี่ยนสินค้ากันแทบทุกครั้ง ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลควบคู่ไปด้วย แม้กระทั่งการซื้อขายบางครั้งกลายเป็นเรื่องข้อมูลล้วนๆเลยก็มี ตั้งแต่ การค้นหาข้อมูล การซื้อตัวสินค้าที่เป็นข้อมูล และการชำระเงินด้วยการโอนเงินที่มีแต่ตัวเลข กระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้น โดยเราไม่ได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริงที่จับต้องได้เลย ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า หรือธนบัตร 💰🛒
.
ในอนาคตข้อมูลก็จะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น ตู้เย็นในบ้านของคุณ จะสั่งนมเข้ามาเติมใส่ตู่เย็นเองจาก Online Shop และทำการตัดบัตรชำระเงินเรียบร้อย โดยที่คุณไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเลย หรือตู้เสื้อผ้าของคุณอาจช่วยสแกนข้อมูลจากห้างสรรพสินค้าเพื่อหาชุดออกเดทกับหวานใจของคุณ ที่เหมาะกับพฤติกรรมและความชอบของเขาหรือเธอในระยะนี้ ให้คุณได้ลองสวมแบบเสมือนจริงด้วยภาพที่กระจกข้างตู้เสือผ้านั้นเลย พร้อมบอกจำนวนสต๊อกที่มีเหลือในห้างให้คุณรู้แบบ Realtime
.
ทุกวันนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆพยายาม เป็นผู้ส่งมอบสุดท้ายถึงมือผู้บริโภคโดยตรง เพื่อทีจะได้มีข้อมูลลูกค้าที่แม่นยำ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ในการออกแบบธุรกิจใหม่ๆ หรือปรับกลยุทธ์ให้ชนะคู่แข่งแบบขาดลอย เช่น บริษัทส่งอาหาร ก็อาจคิดทำธุรกิจ “ครัวกลาง” เพื่อสร้างเมนูอาหารยอดนิยมในทำเลที่ใกล้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่สุด ห้างสรรพสินค้าก็สร้างสินค้าที่เป็น Brand ของตัวเองขึ้นมาขายเอง
.
ถ้าคุณทำธุรกิจโดยไม่สนใจข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลของลูกค้า นับว่าคุณพลาดแล้ว แต่ก็ยังไม่สายนะครับ เพราะโลกวันนี้ ข้อมูลลูกค้าหาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะถ้าใช้ช่องทางออนไลน์จะมีข้อมูลให้มาควบคู่ด้วยอยู่แล้ว
.
ก็เหลือแค่ว่า คุณใช้ข้อมูลที่มีอยู่คุ้มค่าหรือยัง?
.

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ทำพลาดให้เร็ว ล้มไปข้างหน้า คุ้มค่ากว่ามานั่งรอ (#Agile #Concept)



ทำพลาดให้เร็ว ล้มไปข้างหน้า คุ้มค่ากว่ามานั่งรอ (#Agile #Concept)




 


.

Agile (#อไจล์) คือ  กรอบแนวคิด และวิธีการทำงานอย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว เพื่อปรับเปลี่ยนให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง

.

แนวคิดนี้ จะทำให้#ทุกคนในทีมหันมาเน้นการสื่อสารกันมากขึ้น

กล้าเสี่ยงที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ทั้งๆที่ไม่สามารถที่จะการันตีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้

เรียนรู้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไปพร้อมกับการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ

.

หลายๆองค์กรเอาแนวคิดนี้ เข้าไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวการทำงาน ให้สามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจขึ้น

.

Agile  เริ่มจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องการปรับกระบวนการให้คล่องแคล่วทันยุค #Digital #Transformation จึงร่วมกันออกแบบ “#คำประกาศ(#Manifesto)  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้า/บริการ/กระบวนการอื่นที่ต้องการความคล่องตัวเช่นกัน ซึ่งคำประกาศนั้น มี 4 ข้อ คือ

.

1.Individuals and interactions over processes and tools

การให้ความสำคัญกับตัวผู้ทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงาน มากกว่าขั้นตอนวิธีการหรือเครื่องมือ

.

2. Working software* over comprehensive documentation

การสร้างซอฟต์แวร์ (หรือผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการทำงาน)ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง มากกว่าเอกสาร คู่มือ หรือการใช้เวลาในการวางแผนเอกสารงาน

.

3. Customer collaboration over contract negotiation

การทำงานร่วมกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองสัญญากับลูกค้า

.

4. Responding to change over following a plan

การยอมรับปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ (หรือผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการทำงาน)ตามความเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า มากกว่าการทำตามแผนการเพียงอย่างเดียว

.

วิธีการดังกล่าวจะเปลี่ยนจาก ทำงานแบบแยกตามหน่วยงาน(Silo) เป็น  ทีมข้ามสายงาน(Cross Function Team) ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า  เปลี่ยนจาก เน้นไอเดียที่มีคุณภาพ เป็น  เน้นปริมาณไอเดีย  เปลี่ยนจาก ทำงานตามลำดับขั้นตอนใหญ่ๆแบบน้ำตกไหลลงมาเป็นชั้นๆ(Waterfall Model) เป็น  รอบการทำงานสั้นๆ(Sprint) ประกอบด้วย Discover Design Develop Test เพื่อให้ทีมงานสามารถส่งมอบงานย่อยคร่าวๆที่พอใช้การได้ให้ลูกค้าดูได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับ Feedback มาจากลูกค้าได้รวดเร็ว ส่งผลให้

·         Fail Fast  ถ้าผิดพลาด ก็ได้แก้ไขแต่เนิ่นๆ

·         Fail Cheap  เสียหายไม่มากเพราะยังไม่ได้ทำถึงขั้นสมบูรณ์แบบ

·         Fail Forward  นำความผิดพลาดเป็นบทเรียนเพื่อเรียนรู้และปรับปรุงให้ดีขึ้น

เพื่อที่จะนำ Feedback เหล่านั้นกลับมา ปรับจูน(Refinement)  และนำกลับไปเข้าวงจร Discover Design Develop Test  ต่อไป

.

หลักการที่สนับสนุนการทำงานแบบ Agile

·         ยึดความต้องการลูกค้าเป็นที่ตั้ง

·         ไม่เบื่อที่จะแก้ไขงาน เพื่อผลงานที่ใช้ได้จริง

·         ส่งมอบงานสม่ำเสมอด้วยรอบเวลาที่สั้นลง

·         สร้างทีมที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย เชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน

·         ทีมที่มีพลัง สื่อสารภายในทีม รับผิดชอบตัวเอง และปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง

.

ข้อแนะนำในการพิจารณานำไปประยุต์ใช้

·         วิธีการทำงานแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับทุกองค์กร ควรจะนำไปทดลองกับทีมหรือโครงการเล็ก ๆ เสียก่อน และหากมีแนวโน้มที่ดี จึงค่อยขยายผลทดลองกับทีมหรือโครงการที่ใหญ่ขึ้นต่อไป    

·         เหมาะกับการทำงาน โครงการที่ต้องการความคล่องตัว เนื่องจาก

o   การเปลี่ยนแปลง Requirement ตลอดเวลา

o   ลูกค้าเองก็ยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร

o   ลูกค้าอยากได้ระบบที่ใช้งานได้เร็วที่สุด (ยังไม่ครบฟังก์ชันก็ได้)

o   ไม่รู้ว่าคนอื่นภายในทีมกำลังทำอะไรกันอยู่

            ถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะได้ผลงานที่ #คล่องแคล่ว #ว่องไว #ตรงใจลูกค้า

·         ถ้าลูกค้า หรือรูปแบบการทำงานขององค์กรคุณเป็นแบบนี้  การใช้ Agile อาจไม่ work ก็ได้

o   Requirement ชัด ไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ

o   ต้องการความเป็นทางการ ความสมบูรณ์แบบ

o   ต้องการตรวจยืนยันตามขั้นตอน

ถ้าเป็นแบบข้างต้น กรณีที่คุณส่งงานที่ “พอใช้การได้” เพื่อขอ Feedback มาปรับปรุงต่อ ทางลูกค้าหรือเจ้านายของคุณอาจไม่พอใจ และคิดว่า คุณส่งงาน “ชุ่ยๆ”มาให้ได้ยังไง?  แบบนี้ก็ต้องระวัง อาจเสียความน่าเชื่อถือได้

.

.

 

วันชัย ตันจารุพันธ์

เพจ : แผนธุรกิจ

wanchai@vpconsult.biz