โดยทั่วไป หัวหน้างาน มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่อลูกน้อง 4 ประการ คือ การดูแลความปลอดภัยในการทำงาน การสร้างสัมพันธภาพในงาน การสอนงานและการปรับปรุงงาน จะเห็นว่า การปรับปรุงงานเป็นหนึ่งในหน้าที่ของหัวหน้างาน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า มีแนวคิดหรือวิธีการอะไรที่จะทำให้การปรับปรุงงานเป็นระบบ องค์กรได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและยั่งยืน แนวคิด 7 ขั้นตอนของ QCC นับได้ว่าเป็นแนวคิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสากล ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงงานอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง ใช้ความรู้ในการปรับปรุงงาน และให้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
แต่สิ่งที่อยากฝากเป็นแง่คิดมุมมองในประเด็นก่อนและหลังการปรับปรุง คือ
ก่อนปรับปรุง ขอให้มั่นใจว่างานที่เราทำอยู่นั้นมีมาตรฐานชัดเจนและผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นครบถ้วนสม่ำเสมอ หากพบว่าไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งแรกที่ควรทำก่อนทำการปรับปรุง คือ “ทำให้คืนสู่สภาพเดิม” หรือทำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเสียก่อน
ในการปรับปรุงงาน เราต้องใช้ความพยายามหลายขั้นตอน เช่น 7 ขั้นตอนของ QCC เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ทั้งข้อมูล ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงจากสภาพเดิม สิ่งที่ควรให้ความสำคัญถัดจากนั้นก็คือ “จะทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่า หลังการปรับปรุงแล้ว ผลการปรับปรุงจะถูกกำหนดเป็นมาตรฐานใหม่โดยผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเต็มใจปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่อย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ”
ประเด็นถัดไปที่ควรพิจารณาก็คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการปรับปรุงด้วยเทคนิคการนำเสนอที่ดี ถ้ามีประสบการณ์การปรับปรุงที่ดีแต่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ หรือถ่ายทอดได้อย่างจำกัด ก็ทำให้เสียโอกาสที่ประสบการณ์นั้นจะแพร่หลายเป็นความรู้ระดับองค์กรและเป็นต้นทุนความรู้ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อนำไปขยายผลต่อยอดออกไปอีกในอนาคต
ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝากไว้เป็นแง่คิด คือ ทำให้เหนือชั้นกว่าการปรับปรุงหลังเกิดปัญหาแล้ว นั่นคือทำอย่างไรให้เกิด “การป้องกันก่อนเกิดเรื่อง” โดยพนักงานส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในการแจ้งเตือนหรือแก้ไขสิ่งผิดปกติทันทีก่อนเกิดเรื่อง ซึ่งอาจหมายถึงการที่พนักงานทุกคนจะต้องได้รับการปลูกฝังค่านิยมในการ “ไม่เพิกเฉยต่อความผิดปกติ” และได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติในการ “ค้นหาสิ่งผิดปกติ” อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
แต่สิ่งที่อยากฝากเป็นแง่คิดมุมมองในประเด็นก่อนและหลังการปรับปรุง คือ
ก่อนปรับปรุง ขอให้มั่นใจว่างานที่เราทำอยู่นั้นมีมาตรฐานชัดเจนและผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นครบถ้วนสม่ำเสมอ หากพบว่าไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งแรกที่ควรทำก่อนทำการปรับปรุง คือ “ทำให้คืนสู่สภาพเดิม” หรือทำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเสียก่อน
ในการปรับปรุงงาน เราต้องใช้ความพยายามหลายขั้นตอน เช่น 7 ขั้นตอนของ QCC เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ทั้งข้อมูล ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงจากสภาพเดิม สิ่งที่ควรให้ความสำคัญถัดจากนั้นก็คือ “จะทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่า หลังการปรับปรุงแล้ว ผลการปรับปรุงจะถูกกำหนดเป็นมาตรฐานใหม่โดยผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเต็มใจปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่อย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ”
ประเด็นถัดไปที่ควรพิจารณาก็คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการปรับปรุงด้วยเทคนิคการนำเสนอที่ดี ถ้ามีประสบการณ์การปรับปรุงที่ดีแต่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ หรือถ่ายทอดได้อย่างจำกัด ก็ทำให้เสียโอกาสที่ประสบการณ์นั้นจะแพร่หลายเป็นความรู้ระดับองค์กรและเป็นต้นทุนความรู้ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อนำไปขยายผลต่อยอดออกไปอีกในอนาคต
ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝากไว้เป็นแง่คิด คือ ทำให้เหนือชั้นกว่าการปรับปรุงหลังเกิดปัญหาแล้ว นั่นคือทำอย่างไรให้เกิด “การป้องกันก่อนเกิดเรื่อง” โดยพนักงานส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในการแจ้งเตือนหรือแก้ไขสิ่งผิดปกติทันทีก่อนเกิดเรื่อง ซึ่งอาจหมายถึงการที่พนักงานทุกคนจะต้องได้รับการปลูกฝังค่านิยมในการ “ไม่เพิกเฉยต่อความผิดปกติ” และได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติในการ “ค้นหาสิ่งผิดปกติ” อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น