วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มาตรฐานการทำงาน..จากไม่มีเป็นมี สูงสุดคือไม่มี

การทำงานที่มีหลายขั้นตอนนั้น อาจเกิดความผิดพลาดในบางขั้นตอนได้ ยิ่งมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องมากโอกาสผิดพลาดสับสนก็ยิ่งมากขึ้น ยิ่งงานที่มีความสำคัญ ไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดถึงแม้จะลงมือทำอยู่คนเดียวก็ยังอาจเกิดความผิดพลาดจากการหลงลืมหรือละเลยจุดสำคัญในบางขั้นตอนได้
การจัดการกับความกังวลนี้ หลายองค์กรจึงมักกำหนดให้มีการจัดทำมาตรฐานการทำงานขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและแสดงให้ผู้ปฏฺบัติเห็นได้อย่างชัดเจนหรือสามารถเข้าถึงได้ทุกโอกาสที่ต้องการโดยง่าย

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น การกลับมาทบทวนมาตรฐานการทำงานก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการแก้ปัญหาได้ผลมากขึ้น

แต่สิ่งที่เหนือชั้นไปกว่านั้น คือการพยายามคิดค้น สร้างสรรค์โดยอาจใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เพื่อให้การทำงานไม่มีโอกาสผิดพลาดได้เลย ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น “มาตรฐานก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป”

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การซักผ้า ซึ่งมีหลายขั้นตอน แม่บ้านต้องเรียนรู้มาตรฐ่านการทำงานและลงมือทำให้ถูกต้องในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ผ้าที่สะอาด นุ่มและมีกลิ่นหอมสดชื่น แต่ด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ จึงเกิดเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ทำให้เราสะดวกสบายขึ้น สามารถซักผ้าโดยไม่มีโอกาสผิดพลาดและไม่ต้องกังวลกับมาตรฐานการทำงานใดๆ เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วกดปุ่มเดียวก็พอ

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

องค์กรในเทพนิยาย

บ่อยครั้ง เมื่อปัญหาเกิดขึ้น ความเสียหายปรากฎ 
เราก็ต้องมานั่งนึกเสียดายว่า 
“ถ้ารู้เสียแต่เนิ่นๆ ก็จะดี จะได้ป้องกันปัญหาไว้ก่อน 
หรืออย่างน้อยก็ลดทอนขนาดของความเสียหายลงได้”
.
หลายองค์กรพยายามให้พนักงาน 
มองสิ่งผิดปกติให้ออก
และไม่เพิกเฉยต่อความผิดปกติเหล่านั้น 
ถึงแม้ว่าความผิดปกตินั้น
จะยังไม่สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นเลยก็ตาม 
.
นอกจากนั้น ก็พยายามสร้างระบบ
ที่ทำให้ความผิดปกติปรากฎออกมา
ให้ทุกคนเห็นได้อย่างชัดเจน 
จะได้ช่วยกันเข้าไปป้องกัน 
ดูแลแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ก่อนเกิดเรื่อง
.
น่าเสียดายที่ยังมีองกรค์อีกหลายแห่ง
ที่มีแนวความคิดว่า 
ความผิดปกติเป็นเรื่องที่ต้องปิดบังไว้ 
.
ปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหา
เกิดความเสียหายขึ้น 
บางองค์กรยิ่งไปกว่านั้น 
ขนาดเกิดปัญหาความเสียหายเกิดขึ้นอย่างชัดเจน 
ก็ยังคงแนวคิดในการปกปิดปัญหาไว้
ให้ดูเหมือนว่าไม่เกิดปัญหาอะไรขึ้น
.
ในกรณีนี้ หากผู้บริหารไม่รู้เท่าทัน 
หรือไม่ชอบรับฟังปัญหา 
ก็จะได้รับรายงานแต่เรื่องดีดี 
ความสมบูรณ์แบบ .
เหมือนองค์กรแห่งเทพนิยาย 
ซึ่งอาจหาไม่ได้ในโลกของความเป็นจริง 
และสูญเสีย...
ความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงขององค์กรไปในที่สุด 
เพราะไม่ได้บริหารและตัดสินใจ
บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง

Know Why สำคัญกว่า Know How

คนงานเอาเศษใบไม้ไปทิ้งโคนต้นไม้ เพราะนายสั่งไม่ให้ทิ้งจุดเดิมซึ่งอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไม่รู้ว่าสาเหตุที่นายสั่งห้าม เพราะจากการเผาเศษใบไม้ครั้งก่อน ทำให้ต้นไม้ไหม้เกรียมไปด้วย
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่คนงานไม่รู้วัตถุประสงค์ของงาน หรือ Know why ซึ่งหากเขาทราบเขาก็จะทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยทิ้งให้ห่างจากต้นไม้ออกไปแทนที่จะไปทิ้งไว้โคนต้นไม้
บ่อยครั้งที่เราปล่อยให้ลูกน้องของเรา ค้นหาวิธีการทำงาน การปรับปรุง(Know how) โดยเขายังไม่เข้าใจชัดเจนว่า ทำไปเพื่ออะไร ทำไมต้องทำ(Know Why) หรือแม้กระทั่ง การต้องเสียเวลาเสียแรงทำนั้น ผลที่ได้มั่นคุ้มค่าหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น หากพนักงานทราบเป้าหมายชัดเจน เขาอาจจะค้นหาวิธีการใหม่ๆ สร้าง นวัตกรรม เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม หรือด้วยวิธีที่ฉลาดกว่าเดิมก็ได้
อย่างไรก็ตาม ในระดับองค์กร การกำหนด Know why อาจต้องใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่ ทันสมัย ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์(Dynamic)และเทียบเคียงกับองค์อื่น(Relative)
ส่วน How to อาจต้องอาศัย ข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญ การลองผิดลองถูก หรือองค์ความรู้ที่สะสมมา แต่ ถ้าจะให้สมบูรณ์ ควรเป็น How to ประเภทที่สามารถทำซ้ำได้อีก ทำโดยใครก็ได้(ถึงไม่ใช่คนเดิม ก็ทำได้อย่างไม่ผิดพลาดในครั้งแรกที่ลงมือ) ซึ่งอาจต้องกลั่นจากประสบการณ์ตรงของผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในอดีตที่ผ่านมา